วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

สาระน่ารู้ทางการเกษตร

วิจัยกล้วยไข่ให้ผิวสวย ใช้อุณหภูมิควบคุมการตก กระ

กล้วยไข่...หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ถูกกดราคา หรือหนักสุดคือส่งขายไม่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ส่งออกมักประสบบ่อยครั้ง คือผิวของเปลือกเป็น กระ
เพื่อที่จะลดปัญหานี้ลง ศ.ดร.สายชล เกตุษา ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เมธีวิจัยอาวุโส ได้รับทุนสนับสนุน การวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้ทำการศึกษาวิจัยกล้วยไข่ทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อหาสาเหตุ
ในการศึกษาเก็บข้อมูลได้ใช้ถุงพลาสติกคลุมเครือกล้วย ควบคู่กับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อโรคทั้งก่อน-หลังการเก็บเกี่ยว อีกทั้งยังเก็บรักษาผลกล้วยให้สุกในสภาพปลอดเชื้อ-โรค แต่ก็ยังพบการตกกระของผลกล้วยไข่อยู่
ศ.ดร.สายชล...จึงสันนิษฐานว่า การตกกระของกล้วยไข่สุก สาเหตุเบื้องต้นไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคอย่างแน่นอน และ คงเกิดจากการที่ปล่อยทิ้งไว้ให้กล้วยงอมเต็มที่
ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดรอยตกกระเกิดรอยบุ๋ม ส่งผลให้น้ำบริเวณรอบข้างไหลเข้ามาทดแทน อันเป็นเหตุทำให้เนื้อเยื่อติดเชื้อได้ง่าย กระทั่งผิวของกล้วยไข่กลายเป็นสีดำ
ด้วยเหตุนี้ทางคณะวิจัยฯ จึงได้เริ่มศึกษาเปรียบ เทียบกับการเกิดสีน้ำตาล (browning) ของเนื้อเยื่อพืชชนิดต่างๆ อาทิ สีขาวของผลแอปเปิลที่ตากลมไว้เกิดสีน้ำตาล การเกิดสีผิดปกติของผลิตผลเขตร้อน เมื่ออยู่ภายใต้อุณหภูมิต่ำเหนือจุดเยือกแข็ง (chilling injury; 0-12 C) และการเกิดจุดสีน้ำตาลของผักกาดหอมห่อ (rusett spotting)
ผลที่ได้พบว่าเมื่อได้รับเอทิลีนที่อุณหภูมิต่ำ สีน้ำตาลที่เกิดขึ้นมาเกิดจากการทำปฏิกิริยาของเอนไซม์ กับสารฟีนอลิก ในสภาวะที่มีออกซิเจน โดยเม็ดสีเหล่านี้จะรวมตัวกันเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่และตกตะกอนอยู่ตามเนื้อเยื่อของพืช
และ...เมื่อนำกลับมาไว้ในห้อง กล้วยไข่จะยังคงตกกระเช่นเดิม หากนำไปไว้ที่อุณหภูมิ 42 ํC นาน 6-24 ชม.ก็จะสามารถยับยั้งการตกกระของกล้วยไข่ได้อย่างถาวร อีกทั้งความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศ จะช่วยให้การตกกระเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีความชื้นมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์
เมื่อทราบถึงปัจจัยเหล่านี้ จึงได้คิดวิธีการชะลอการตกกระขึ้น ด้วยวิธีการเก็บรักษากล้วยไข่สุกในบริเวณที่มีอุณหภูมิ 12-18 C หรือช่องแช่เย็นปกติ ซึ่งจะช่วยลดการตกกระได้นาน 5 วัน ใช้พลาสติกฟิล์มพีวีซี (PVC Film) หรือพลาสติกที่ยอมให้อากาศถ่ายเท ห่อผลกล้วยไข่เพื่อควบคุมปริมาณออกซิเจนให้เหลือน้อยที่สุด การใช้สารเคลือบผิว เพื่อลดการหายใจด้วยออกซิเจนของผลกล้วยไข่
จากการวิจัยและศึกษาการตกกระของกล้วยไข่ ได้ถูกนำมาใช้ป้องกันผิวของผลกล้วย โดยมีการนำกล้วยไข่ไปบรรจุในภาชนะ จานโฟมและห่อด้วยพลาสติก หรือแช่เก็บในชั้นวางของที่มีอุณหภูมิ 12-18 C เหล่านี้ก็ “เพื่อชะลอการตกกระของกล้วยไข่และดึงดูดใจผู้บริโภค”
นอกจากจะลดปัญหาการตกกระแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่คณะวิจัยได้รับรู้ ต้องการ คือความเข้าใจในธรรมชาติของกล้วยไข่ว่าจุดตกกระเกิดขึ้น เมื่อกล้วยไข่นั้นสุกมิใช่เกิดจากโรคแต่อย่างใด.


แมงดานาไล่ศัตรูด้วยกลิ่น แต่นำมาให้ใช้กับมนุษย์อาหาร


การกิน......ปัจจุบันแม้จะมีให้เลือกหลากหลายทะลักเข้ามาในสังคมบ้านเรา ทั้งที่ประเภทแพงหูฉี่ราคาเทียบเท่าทองคำ จนถึงประเภททั้งประเภทกินสะดวกกินด่วนที่วัยรุ่นชอบแอ็กอาร์ตเปิบกันแล้วว่าทันสมัย  
แต่ยังไง๋ยังไง....วัฒนธรรมการบริโภคของไทยเราก็ยังโหยหาน้ำ พริกกันอยู่วันยังค่ำ เพราะชื่อนี้ไม่ว่าจะชนิดใดภาคไหน รสชาติของมันประทับเข้าถึงโคนลิ้นเลยทีเดียว ยิ่งถ้าได้เหยาะแมงดาเข้าไปซักนิดแล้ว กลิ่นของมันจะช่วยปรุงรสให้แซบเหลือหลาย
แมงดานาที่ใช้ตำกับน้ำพริกจะเป็นแมงดานา ซึ่งสนนราคาที่ขายตามท้องตลาดยามนี้ก็อยู่ที่ตัวละ 5-10 บาท... และราคานี้ก็มิใช่ว่าจะหาซื้อได้ง่ายๆด้วย
แมงดานา....มีด้วยกัน 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์หม้อ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เราเห็นวางขายอยู่ตามท้องตลาด ลำตัวมีลักษณะขอบปีกมีลายสีทองคลุมไม่มิดส่วนหาง จะขยายพันธุ์รวดเร็ว ไข่ดก พันธุ์ลาย ขอบปีกมีลายสีทองและคลุมมิดหาง วางไข่แต่ละครั้งไม่แน่นอน และ พันธุ์เหลือง หรือ พันธุ์ทอง มีสีเหลืองทั้งตัว ชอบกินแมงดานาพันธุ์อื่นๆเป็นอาหาร....จึงไม่ควรเลี้ยงรวมกับพันธุ์อื่นๆ
แมงดานาตัวเมียลำตัวจะแบน ส่วนท้องใหญ่กว้าง เมื่อแง้มดูที่ปลายท้องจะเห็นอวัยวะวางไข่คล้ายเม็ดข้าวสาร ส่วน ตัวผู้ ลำตัวจะกลมป้อมเล็กกว่าตัว เมีย มีเดือยหาง ซึ่งส่วนนี้จะมีต่อมกลิ่นหอมฉุน
มันชอบออกบินในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะหลบซ่อนอยู่ตามหนอง คลอง บึง และในท้องนา ในเวลาฤดูฝนกลางคืนเมื่อมีฝนตกปรอยๆ ตัวแก่จะบินขึ้นมาวนเวียนอยู่ตามที่มีแสงไฟฟ้าโดยเฉพาะสีม่วง สีฟ้า สีน้ำเงิน แล้วปล่อยกลิ่นเพื่อเรียกความสนใจจากตัวเมีย ให้มาผสมพันธุ์ ปีหนึ่ง “จะฝากรัก” 3-4 ครั้ง เมื่อได้ความสุขสุดขีดแล้วมันก็จะตาย
ช่วงที่มันฝากรักปล่อยกลิ่นฉุนเรียกคู่มาหา แล้วมันก็จะเกาะบนหลังตัวเมีย ผสมพันธุ์ตามกอหญ้า กอข้าว เมื่อตัวเมียวางไข่ ซึ่งมีลักษณะเป็นกลุ่มวางเรียงเป็นแถวตามต้นข้าวหรือต้นหญ้า หรือตามกิ่งไม้ขนาดเล็กในน้ำ ซึ่งแต่ละกลุ่มมีประมาณ 100-200 ฟอง...ตัวผู้จะทำหน้าที่เฝ้าไข่ โดยว่ายน้ำขึ้น-ลงตลอดและเยี่ยวรดไข่ ช้กับมนุษย์ไม่ได้ผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น